2559-02-02

มาสร้างเงินเก็บ ทุกวัน กันเถอะ

  

     ดูจากหัวข้อเหมือนจะเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ อะไรซักอย่าง แต่ความจริงแล้ว การสร้างเงินเก็บ ที่ว่านี้ คือการบริหารจัดการ เงิน ของคุณเองนั่นแล่ะ ><
     ขอ ออกตัวก่อน ว่าผมเองไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินที่ไหนหรอก เป็นมนุษย์เงินเดือนธรรมดา และพยายามหาวิธีการสร้างรายได้มาตลอด แน่นอนล่ะ ถ้าหาได้ คงไม่ต้องมานั่งคิดวิธีอะไรต๊อกต๋อยแบบนี้หรอก แต่ถ้าใครคิดว่าดูไว้ ก็ไม่เสียอะไรซักบาท (นอกจากเวลามานั่งอ่าน น่ะนะ) ลองมาดูกันสักหน่อย ^ ^

1.วันเงินเดือนเข้า คือ วันเงินเดือนออก

     แน่ะ มาข้อแรกก็ งง ซะแล้ว แต่ช้าก่อน วันที่เงินเดือนเข้า คือวันที่เรา จะจัดสรร ปันส่วนเงินทั้งหมด เพื่อการใช้จ่าย และสร้างเงินเก็บ ไปตลอดทั้งเดือน นั่นคือความหมายที่แท้จริงของ "เงินเดือนออก" นั่นเอง พอรู้ หรือเห็นยอดเงินเดือนเข้า เราก็คิดเสียแต่ว่าจะใช้นั่น ใช้นี่ โดยลืมคิดไปว่ามันจะพอใช้ไหมในเดือนนั้น นั่นเป็นประเด็นสำคัญของข้อนี้เลยล่ะ แต่ มันจะออกยังไง ไปดูกันต่อครับ

2.ออม-หนี้-เก็บ

     ความจริง หัวข้อก็ตั้งไปงั้นแหละ พอเจอคำว่า ออม บางคนก็ถอยแล้ว เพราะคิดว่า ออมไม่เคยได้น่ะสิ การออมตามหลักสากล คือหักจากเงินเดือน ไว้ออม 10-15% สมมุติมีเงินเดือน 20,000 ก็ต้องหักไป 2,000 - 3,000 (นั่นใช้ได้เป็นอาทิตย์เลยนะ 5555) เพราะงั้นข้อนี้คนส่วนมากจึงแทบจะทำไม่ได้ เลยจะขอข้ามไป แต่ ยังไงก็ตาม มันก็เป็นลำดับแรก ที่ควรจะทำ (ถ้าทำได้นะ อิอิ)

     งั้นคิดแบบง่าย ๆ ว่า ออม ไม่ได้หรอก ให้คิดถึง หนี้ หรือ สิ่งที่ต้องจ่าย ในเดือนนั้น ลิส ออกมาเป็นข้อ ๆ เลยครับ ไม่ต้องสนใจลำดับ เอาเป็นว่า ในเดือนนึง คุณ ต้องจ่าย อะไรบ้าง ก็เขียนมันออกมา พร้อมจำนวนเงินคร่าว ๆ ขอเป็นตัวเลขกลม เช่น  ค่าไฟ - 1,500 ฯลฯ

     จากนั้นให้รวมเงิน หนี้ ซึ่งต่อไปผมขอเรียกว่า สิ่งที่ต้องจ่าย แทน แล้วกันนะ ใช้คำว่าหนี้ แล้วมันบาดใจ (พาลให้ไม่อยากจ่าย) ยังไงไม่รู้ รวมให้หมดนะ ในขั้นตอนนี้ควรมี เงินสำรอง รวมอยู่ในหมวดนี้ด้วย เพื่อการใช้จ่ายอะไรที่ไม่คาดฝันในเดือนนั้น เช่น ค่ายา , ทำบุญ , ใส่ซองแต่งงาน *0* ผมกะให้เงินสำรองนี้ไว้ประมาณ 1,000 ซึ่งคุณเองน่าจะรู้ ว่ามันพอ หรือไม่ ต่อไป

     เอายอดเงินเดือน - สิ่งที่ต้องจ่าย = เงินคงเหลือใช้ตลอดทั้งเดือน
     แล้วเอา   
     เงินคงเหลือใช้ตลอดทั้งเดือน / 30 = เงินใช้รายวัน

     คุณจะได้จำนวน เงินใช้รายวัน มาจำนวนนึง ซึ่งจำนวนนี้ เป็นเงินที่คุณจะต้องใช้ให้พอ ในแต่ละวัน และถ้าคิดกันง่าย ๆ เงินใช้รายวัน นี้ไม่ควรต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ คือ 300 บาท ดังนั้นถ้าคิดมาคร่าว ๆ แล้วมันต่ำกว่ามาก ให้ตระหนักไว้ได้เลยว่า เดือนนั้นเงินจะไม่พอใช้แน่ แต่ถ้าใกล้เคียง 300 หรือมากกว่า ให้ถามตัวเองอีกที ว่าใช้วันละเท่านี้ พอ หรือ ไม่ ถ้าคำตอบคือ ไม่พอ ให้คุณหยุดอ่านได้เลยครับ นั่นหมายถึงคุณใช้เงินเกินกว่ารายได้ที่คุณมี แสดงว่าต่อไปนี้ก็คงมีแต่ สิ่งที่ต้องจ่าย เพราะคุณไม่สามารถควบคุมรายจ่ายในแต่ละวันได้ แต่ถ้า คำตอบคือ พอ หรือ พอบ้าง ไม่พอ บ้าง ก็ยังมีหวัง มีเงินเก็บ ต่อไปครับ   เขียนมาซะยาว แล้วจะ มีเงินเก็บ ยังไง ก็ง่าย ๆ ตามนี้ครับ

3.เก็บไปเรื่อย เมื่อยก็ใช้

     เงินเก็บ ที่คุณจะได้ คือ เงินที่เหลือ จากการใช้จ่ายในแต่ละวันครับ เช่นวันนี้คุณใช้เงินไป 250 คุณจะมีเงินเก็บคือ 300 - 250 = 50 บาท ในวันที่ 1
     พอวันถัดไป ก็เอายอดเงิน 300 (หรือตามที่คุณคำนวณได้ จากข้อ 2) มาเป็นตัวตั้ง ว่าจะใช้เท่านี้ เหลือเท่าไหร่ ก็คือเงินเก็บ ในวันที่ 2
     ลองทำและรวมเงินเก็บไปซัก 5 วัน (จันทร์ - ศุกร์) คุณจะเห็นว่า สิ้นสัปดาห์นี้มีเงินเก็บแล้ว กี่บาท ข้อควรระวัง คือ คืนวันศุกร์ และ เสาร์ อาทิตย์ เพราะคนทำงานจะคิดว่าได้พักผ่อน เท่านั้นแล่ะ จะเกิดการใช้เงินแบบเกินข้อจำกัด และอาจทำให้เงินที่เก็บได้มาทั้ง 5 วันหาย หรือติดลบไปเลย ดังนั้น ควรฝึกให้การใช้เงินทั้ง 7 วัน เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ หรือถ้าวันไหนจะใช้เกินลิมิตบ้าง ก็ขอให้ไม่เกินจากยอดที่เก็บมาได้ทั้งหมดนะ

     แนวคิดนี้ ได้เกริ่นไปตั้งแต่แรกแล้ว ว่าเป็นวิธีแบบต๊อกต๋อย คือเก็บเงินเหลือจากการใช้ของคุณในแต่ละวันนั่นแล่ะ แต่สิ่งที่จะได้คือ กำลังใจ ครับ พอสิ้นวัน คุณจะมารวมรายจ่าย ว่าใช้ไปเท่าไหร่ (ถ้านึกไม่ออก ให้กะจำนวนคร่าว ๆ ว่าใช้ไปกี่ร้อย) เพื่อลุ้น ว่าจะเหลือเก็บกี่บาทในแต่ละวัน ทำไปซัก 7 วันมีเก็บกี่บาท เอายอดนี้ไปคูณ 4 สัปดาห์ พอปลายเดือน แทนที่เงินจะหมดไม่เหลือใช้ กลับมีเงินไว้ต่อชีวิตอีกนิสนึง (อาจจะซัก 500 หรือเกือบ 1,000) นี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ในการฝึกบริหาร จัดการ เงินของเราเอง อย่าลืมว่า การใช้แบบไม่คิด ไม่ถึงสิ้นเดือนก็หมด หรือมีแต่คำว่า ไม่พอใช้ จะเป็นยังไงก็ขึ้นอยู่กับคุณ มาลุ้นกันเถอะ ว่าวันนี้จะมี เงินเก็บ เท่าไหร่
^ ^

1 ความคิดเห็น: